หมวดหมู่: บริษัทจดทะเบียน

1aaaGUNKUL


GUNKUL ตั้งงบลงทุน 2 หมื่นลบ.1,000 MW คาดปี 62 รายได้ 7.5 พันลบ.COD เพิ่ม 105 MW

     บมจ.กัลกุล ตั้งงบลงทุน 3 ปีข้างหน้า ใช้งบลงทุน 2 หมื่นล้านบาท ขยายธุรกิจไฟฟ้า เอ็นจิเนียริ่ง จ่อประมูลงานอีก 3.3 หมื่นล้านบาท หวังได้ 10% พร้อมเตรียมเจรจาพาร์ทเนอร์เวียดนามลงทุนโซลาร์ฟาร์ม-พลังงานลม 450 เมกะวัตต์ คาดสรุป Q1/62

    นายสมบูรณ์ เอื้ออัชฌาสัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท กัลกุล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) GUNKUL เผยว่า ไตรมาส 3/61 กำไรสุทธิ 715.71 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 835% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ทำได้ 76.53 ล้านบาท จากรายได้การจำหน่ายไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญมาที่ 2,050.90 ล้านบาท โต 88.51% จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการจ่ายไฟฟ้าพลังงานลมทั้งหมด 3 แห่ง และในช่วงไตรมาส 3 เป็นช่วงที่มีกระแสลมแรง ขณะที่รายได้จากการขายอุปกรณ์เติบโต 6.22% และรายได้จากการก่อสร้างลดลง 1.07% และสิ้นปีจะมีโรงไฟฟ้าที่จ่ายไฟเข้าระบบทั้งหมด 330 MW ทำให้รายได้จะเติบโตตามเป้าหมายไม่ต่ำกว่า 30% และในปี 2562 จะจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในโครงการคิมิสึ ประเทศญี่ปุ่น ใน 1 ก.พ.2562 อีก 38 MW ซึ่งขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการเข้าประมูลโครงการอีกหลายแห่ง โดยยังคงเป้าหมายมีสัญญาซื้อขายไฟไม่ต่ำกว่า 1,000 MW ในปี 2564 จากปัจจุบันที่มีแล้ว 550 MW

 

 

    กลุ่มบริษัทมีรายได้รวมเท่ากับ 3,711 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จำนวน 1,371 ล้านบาท หรือร้อยละ 58.59 เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันกับปีก่อนเท่ากับ 2,340 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นรายได้จากการรับเหมาก่อสร้าง 375 ล้านบาท และรายได้จากการขาย จำนวน3,274 ล้านบาท ซึ่งเติบโตขึ้นจากการจำหน่ายอุปกรณ์ให้กลุ่มลูกค้าในโครงการโซลาร์ฟาร์มค้างท่อ และผู้รับเหมาในระบบสายส่งให้แก่การไฟฟ้าฯ และมีรายได้จากการให้บริการบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าฯ จำนวน 51 ล้านบาท และส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทที่ควบคุมร่วมกัน จำนวน 206 ล้านบาท

       บริษัทตั้งเป้ารายได้ปี 2562 โต 25% แตะ 7,500 ล้านบาท จากปีนี้คาดว่า อยู่ที่ประมาณ 6,000 ล้านบาท โดยจะรับรู้รายได้โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ในญี่ปุ่นทั้งเซนได และคิมิตสึ เต็มปี นอกจากนี้ ยังรับรู้รายได้จากธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง และธุรกิจซื้อมาขายไป (Trading) โดยแบ่งสัดส่วนรายได้ปี 2562 มาจากธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าประมาณ 50% หรือ 3,750 ล้านบาท และส่วนที่เหลืออีก 50% มาจากธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและ Trading ส่วนในปีนี้แบ่งสัดส่วนรายได้จากธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า 2,600-2,700 ล้านบาท รับเหมาก่อสร้าง 2,000 ล้านบาท และ Trading ประมาณ 1,200-1,300 ล้านบาท

      ในปี 2562คาดว่า จะจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) เพิ่มอีก 105 เมกะวัตต์ (MW) แบ่งเป็นโครงการโรงไฟฟ้าเมืองคิมิตสึ กำลังการผลิต 40 เมกะวัตต์ เริ่ม COD ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 , โครงการ CPF Solar Rooftop กำลังการผลิต 30 เมกะวัตต์ เริ่ม COD ช่วง Q1-Q2/62 และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์กับพันธมิตรในประเทศมาเลเซีย กำลังการผลิต 50 เมกะวัตต์ ซึ่ง GUNKUL ถือหุ้นในสัดส่วน 70% หรือคิดเป็นกำลังการผลิต 35 เมกะวัตต์ เริ่ม COD ช่วงปลายปี 2562 ซึ่งสิ้นปีนี้มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 401 เมกะวัตต์

      ด้านธุรกิจก่อสร้างปัจจุบันมีงานในมือ (Backlog) ประมาณ 800 ล้านบาท ซึ่งรับรู้ปีนี้ 300 ล้านบาท และปีหน้า 500 ล้านบาท นอกจากนี้ มีแผนเข้าประมูลงานใหม่ 33,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการนำสายไฟฟ้าลงดินของการไฟฟ้านครหลวง มูลค่า 11,000 ล้านบาท , โครงการนำสายไฟฟ้าลงดินของการไฟฟ้าภูมิภาค จังหวัดเชียงใหม่ ภูเก็ต ชลบุรี นครราชสีมา มูลค่ารวม 11,000 ล้านบาท และโครงการติดตั้งสถานีไฟฟ้าย่อย 40 แห่ง ขนาด 115-230 กิกะวัตต์ มูลค่า 11,000 ล้านบาท คาดว่า บริษัทฯ จะได้งานไม่ต่ำกว่า 10% ของมูลค่างานทั้งหมด

       ในช่วง 3 ปีหน้า (2562-2564) ใช้งบลงทุน 2 หมื่นล้านบาท เพื่อขยายธุรกิจโรงไฟฟ้า แบ่งเป็นงบลงทุนต่อเนื่องในโครงการโรงไฟฟ้าประเทศญี่ปุ่นมูลค่า 15,000 ล้านบาท คือ เมืองอุตสึโนมิยะขนาด 70 เมกะวัตต์ และเมืองอิวาคุนิ 73-74 เมกะวัตต์ และที่เหลืออีก 5,000 ล้านบาท ใช้ลงทุนในธุรกิจพลังงานในมาเลเซียและอื่นๆ บริษัทอยู่ระหว่างเจรจากับพันธมิตรในประเทศเวียดนาม เพื่อลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ กำลังการผลิต 450 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นพลังงานลม 300 เมกะวัตต์ และพลังงานแสงอาทิตย์ 150 เมกะวัตต์ คาดเห็นความชัดเจนใน Q1/62

       “ทั้งนี้ ผลประกอบการไตรมาส 4/2561 ของบริษัท และบริษัทย่อยคาดว่า มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องจากไตรมาส 3/2561โดยจะทยอยรับรู้รายได้จากงานที่มีอยู่ในมือ(Backlog) อีกทั้ง บริษัทยังมีแผนเข้าประมูลงานต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยการเติบโตขึ้นของรายได้ทำให้บริษัทมั่นใจว่ารายได้ปี 2561 จะเติบโตได้ตามเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ไม่ต่ำกว่า 50% ส่งผลต่อรายได้ และกำไรของ GUNKUL ให้เติบโต และมีเสถียรภาพยิ่งขึ้น”

      บริษัทฯ จะมีกำหนดลงนามสัญญาเงินกู้โครงการ จำนวน 4,080 ล้านบาท กับธนาคารผู้สนับสนุนภายในเดือนนี้ สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 87 เมกะวัตต์ ในนามบริษัท รางเงิน โซลูชั่น จำกัด โดยบริษัทมีสัดส่วนการถือครองหุ้นร้อยละ 67 และประกอบด้วยโรงไฟฟ้าฯ ทั้งสิ้น 11 โรง ซึ่งจะดำเนินการจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ได้ทั้งหมดภายในสิ้นปีนี้ และบริษัทยังประสบความสำเร็จจากการจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมแบบ RO (Right Offering) รวมกว่า 4,000 ล้านบาท ทำให้สินทรัพย์รวมของบริษัท ณ วันที่ 30 กันยายน 2558 เพิ่มขึ้นเป็น 19,755 ล้านบาท โดยมีส่วนของผู้ถือหุ้นแสดง จำนวน 8,178 ล้านบาท และมีอัตราหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นในอัตรา 1.40 เท่า ยังผลให้บริษัทมีความสามารถในการก่อหนี้และจัดหาเงินทุนเพื่อรองรับการพัฒนาโครงการที่ได้รับ PPA เรียบร้อยแล้วให้สำเร็จได้ครบทุกโครงการตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างแน่นอน

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

SIAM790x90

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!