หมวดหมู่: พลังงาน

OIL36


ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่ม หลังซาอุดิอาระเบียประกาศปรับลดการส่งออกน้ำมันดิบในเดือน เม.ย.

+ ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อ หลังซาอุดิอาระเบียประกาศปรับลดปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบในเดือน เม.ย. 62 ให้อยู่ที่ระดับต่ำกว่า 7 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยจะควบคุมไม่ให้กำลังการผลิตน้ำมันดิบของประเทศ เกินระดับ 10 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นการปรับลดมากกว่าระดับที่ได้มีการตกลงกับกลุ่มผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกว่าจะผลิตน้ำมันดิบที่ระดับ 10.31 ล้านบาร์เรลต่อวัน

+ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ปรับลดกำลังการผลิตในเดือน ก.พ. 62 ลงมากกว่าเป้าหมายที่ตกลงกับทางกลุ่มโอเปก คิดเป็นร้อยละ 119 จากที่ได้ตกลงไว้

+ บริษัท PDVSA ซึ่งเป็นบริษัทผลิตน้ำมันของรัฐบาลเวเนซุเอลา ยังคงไม่สามารถส่งออกน้ำมันได้ นับตั้งแต่ที่เวเนซุเอลาประสบปัญหาไฟฟ้าดับทั่วประเทศในวันที่ 7 มี.ค. ที่ผ่านมา

+ สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานสหรัฐฯ (API) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 8 มี.ค. 62 ปรับตัวลดลง 2.6 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 449 ล้านบาร์เรล ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นราว 2.7 ล้านบาร์เรล

- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) คาดการณ์ว่าสหรัฐฯ จะปรับเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบจากระดับ 12.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปี 2562 ไปเป็น 13.03 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปี 2563 อย่างไรก็ตาม คาดว่าความต้องการใช้น้ำมันดิบโลกจะปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 1.45 ล้านบาร์เรลต่อวัน

     ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปสงค์ในภูมิภาคเอเชียปรับเพิ่มขึ้น ประกอบกับอุปทานของน้ำมันเบนซินตึงตัวมากขึ้น หลังโรงกลั่นในประเทศจีนเตรียมปิดซ่อมบำรุง ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกน้ำมันเบนซินจากจีนคาดว่าจะลดลง

    ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงสวนทางราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากปริมาณการส่งออกน้ำมันดีเซลจากจีนปรับเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามตลาดน้ำมันดีเซลยังได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ที่ทรงตัวจากปากีสถาน เวียดนาม และฮ่องกง

 

ไทยออยล์ คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้

               ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 54-59 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

                ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 63-68 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

 

ปัจจัยที่น่าจับตามอง

       อุปทานน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวลดลง หลังโอเปกและพันธมิตรร่วมมือกันปรับลดกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด กำลังการผลิตของกลุ่มโอเปกปรับลดลงมาอยู่ที่ 30.68 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2558 ประกอบกับ รัสเซียเตรียมที่จะปรับลดกำลังการผลิตในเดือน มี.ค. 62 ลงราว 228,000 บาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบกับกำลังการผลิตในเดือน ต.ค. 61

         จับตาผลสรุปของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน หลังการเจรจาระหว่างนายโดนัลด์ ทรัมป์ และนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาดำเนินไปด้วยดี โดยทั้งสองประเทศจะมีการประชุมอย่างเป็นทางการในวันที่ 27 มี.ค. นี้ ซึ่งหากสงครามการค้ายุติลง เศรษฐกิจโลกและความต้องการใช้น้ำมันโลกจะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นได้

          ติดตามการตัดสินใจของโอเปกและพันธมิตรเกี่ยวกับทิศทางในการปรับลดกำลังการผลิต หลังคาดว่าจะไม่มีการขยายระยะเวลาการปรับลดกำลังการผลิตในการประชุมเดือน เม.ย. 62 อย่างไรก็ตาม คาดว่าการตัดสินใจดังกล่าวจะมีข้อสรุปในการประชุมครั้งถัดไปในเดือน มิ.ย. 62

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90SIAM790x90

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!